• importance of human rights

    ความสำคัญของ สิทธิมนุษยชน ที่ทั่วโลกต่างจับตามอง

    สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องพื้นฐานอย่างหนึ่งที่แม้ว่าเราอาจจะได้รับมาบ้าง แต่บางครั้งบางมุมอาจจะน้อยเกินไปหากเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วบางประเทศ ตอนนี้สิทธิมนุษยชนของไทยเอาเข้าจริงกำลังถูกจับตามองอย่างมากจากเวทีโลก มีเรื่องอะไรบ้าง บอกเลยว่าใกล้ตัวเรากว่าที่คิดเยอะ ความเห็นทางการเมือง การเมืองตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว มาจนถึงปีนี้ต้องบอกเลยว่า รุนแรงและต่อเนื่องมาก เรื่องราวถูกปล่อยออกมาหมดทั้งสื่อออนไลน์ และ ออฟไลน์ เรื่องจริงเรื่องเท็จผสมปนเปกันไปหมด สิทธิเรื่องหนึ่งที่โดนคุมไว้ก็คือ การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หากเราไปแสดงความคิดเห็นทางการเมืองแบบโจ๋งครึ่มอาจจะโดนทางการเชิญตัวไปสอบสวนได้ ซึ่งเรื่องนี้ก็ต้องดูว่าจะผ่อนปรนได้อีกเมื่อไร สิทธิในการชุมนุม คำว่า ชุมนุม อาจจะเป็นคำที่แสลงของใครหลายคนที่เจอพิษของการชุมนุมตลอดเกือบสิบปีที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นฝ่ายไหนก็ตาม การชุมนุมแม้จะมีการเลือกตั้งไปแล้วแต่ก็ยังเป็นของแสลงอยู่เหมือนเดิม ตอนนี้หากการชุมนุมทางการเมืองเป็นสิ่งที่ไม่ได้ขออนุญาตล่ะก็ อาจจะต้องโดนกันหมด เรื่องนี้เลยยังเป็นสิ่งที่หลายประเทศมองว่าเรายังไม่ผ่อนคลายเรื่องนี้จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่ที่แต่งตั้งแล้ว (หรือเปล่า) สิทธิผลการเลือกตั้ง อีกหนึ่งสิทธิที่เกิดเรื่องราวต้องใช้คำว่า “มหากาพย์” ก็คงจะไม่ผิดนัก นั่นก็คือ สิทธิผลการเลือกตั้ง สิทธิตรงนี้เกิดจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา เกิดข้อผิดพลาดในการขนส่งบัตรลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าที่มาจากต่างประเทศ แน่นอนว่ามันไม่สามารถเดินทางมาถึงวันที่กำหนดได้ทันจนทำให้กลายเป็นบัตรเสียไป […]

     
  • Land of Liberty

    ทำไมประเทศอเมริกาจึงเรียกกันว่า ดินแดนแห่งเสรีภาพ

    ประเทศสหรัฐอเมริกาจัดได้ว่าเป็นดินแดนแห่งเสรีภาพก็ไม่ผิดนัก ใครหลายคนโดยเฉพาะในบ้านเรามีความใฝ่ฝันจะไปเยือนดินแดนแห่งเสรีภาพนี้สักครั้งหนึ่ง อยากจะไปเห็นความคิดความอ่าน การดำเนินชีวิตว่า ดินแดนแห่งเสรีภาพนั้นจะเป็นอย่างไร ว่าแต่เรารู้หรือไม่ว่า ทำไมประเทศอเมริกาจึงถูกขนานนามว่า ดินแดนแห่งเสรีภาพ ทุกคนสามารถทำอะไรก็ได้ คำว่า เสรีภาพ เราจะเข้าใจว่า เราสามารถทำอะไรก็ได้หากอยู่บ้านเราแน่นอนว่าคำว่า ทำอะไรก็ได้มันก็ถูกจำกัดไว้ด้วยเรื่องอื่นๆ มากมายนอกจากกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นจารีต ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราจะไม่ได้เห็นเลยในประเทศอเมริกา ไม่แปลกเรามักจะเห็นอะไรสร้างสรรค์แบบสุดขั้วไปจนถึงห่ามจนน่ากลัวเยอะมากตามคลิป ตามข่าว คำว่า ทุกคนมีเสรีภาพในการทำอะไรก็ได้ มีความหมายตามนั้นจริง บนพื้นฐานว่าเรื่องเหล่านั้นจะต้องไม่ผิดกฎหมาย ทุกคนเคารพกฎหมาย การมีเสรีภาพของทุกคนในประเทศสหรัฐอเมริกาก็จริง แต่ทุกคนต้องเคารพกฎหมายข้อนี้สำคัญมาก เชื่อไหมว่าคนอเมริกันเคารพกฎหมายมากกว่าบ้านเราเยอะมาก ส่วนหนึ่งต้องยอมรับความพร้อมของทีมงานบังคับใช้กฎหมายด้วย เมื่อการบังคับใช้กฎหมายดี ทุกคนก็จะรู้สึกไปทางเดียวกันว่า หากเราทำตามกฎหมายเราก็จะมีเสรีภาพเต็มที่เนื่องจากมีกฎหมาย […]

     
  • what will happen If there

    จะเกิดอะไรขึ้น หากไม่มีการเลิกทาสในสมัย รัชกาลที่ 5

    หนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของหน้าประวัติศาสตร์ไทย เราขอยกเรื่องการเลิกทาสของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 มาไว้ก่อนเลย เนื่องจากการเลิกทาสถือว่าเป็นการยกเลิก เปลี่ยนแปลง ความเชื่อ แนวคิด ที่มีมานานฝังรากลึกจนยากจะแก้ แต่ท่านก็สามารถยกเลิกได้โดยไม่เกิดข้อขัดแย้งด้วย เรามาลองคิดกลับกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากไม่มีการเลิกทาสในสมัย รัชกาลที่ 5 การสร้างข้ออ้างเพื่อยึดเมืองไทย ตอนนั้นไทยเราอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการโดนยึดประเทศเป็นเมืองขึ้นหนักมาก ฝั่งหนึ่งได้แก่อังกฤษ อีกฝั่งหนึ่งก็ฝรั่งเศส ทั้งสองประเทศต่างต้องการไทยซึ่งถือว่าเป็นดินแดนอันอุดมสมบูรณ์ เป็นชัยภูมิตั้งฐานทัพอย่างดีในการรุกรานประเทศอื่นต่อไป ตอนนั้นทั้งสองประเทศยังหาเหตุผลในการเข้ายึดประเทศไม่ได้ หากเข้าหักแบบไม่กลัวก็จะอายสายตาชาวโลก กลับกันหากไทยยังไม่เลิกทาส ทั้งสองประเทศอาจจะใช้ข้ออ้างนี้กล่าวหาว่าไทยเป็นประเทศบ้านป่าเมืองเถื่อน ประเทศแห่งความรุนแรง ประเทศไม่มีอารยธรรม ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความเท่าเทียมกัน ทำให้ทั้งสองต้องเข้ามาจัดการประเทศเพื่อปลดแอกประชาชนให้เป็นอิสรภาพ การก่อตัวของคลื่นใต้น้ำ ไทยเองการต้านทานกระแสการล่าอาณานิคมของฝั่งยุโรป ใช้การเปิดรับวัฒนธรรมเพื่อปรับตัวอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่การต่อต้าน การปิดประตูเมือง ซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ดีเยี่ยม แต่การเปิดประตูเมืองให้ชาวต่างชาติคิดไม่ซื่อบางกลุ่ม […]

     
  • Abraham Lincoln Civil War And abolition in America

    อับราฮัม ลินคอล์น สงครามกลางเมือง และการเลิกทาสในอเมริกา

    ชื่อของ อับราฮัม ลินคอล์น เป็นชื่อที่คนทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดีแม้ว่าเขาจะเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ก็ตามนั่นเพราะมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมายในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งหัวเรือใหญ่ของประเทศสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสงครามกลางเมืองและการเลิกทาสถือว่าเป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจมาก ดังนั้นลองมาทำความรู้จักกับเขาในมุมของ 2 เรื่องนี้กับอับราฮัม ลินคอล์น สงครามกลางเมืองและการเลิกทาสของอับราฮัม ลินคอล์น เมื่ออับราฮัม ลินคอล์น ของพรรครีพับลิกันได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อปี 1860 ความขัดแย้งเกี่ยวกับปัญหาเรื่องทาสก็มาถึงจุดแตกหักในปี 1861 7 รัฐทางใต้ของสหรัฐฯ ประกาศถอนตัวออกจากสหภาพก่อนมีการรวมตัวกันเป็นสมาพันธรัฐอเมริกา เดือนเมษายน 1861 หลัง อับราฮัม ลินคอล์น ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ 1 เดือน กองกำลังแบ่งแยกดินแดนแห่งเซาท์แคโรไลน่าได้ทำการปิดล้อมป้อมซัมเทอร์ท่าเรือชาร์ลสตันเพราะต้องการกดดันให้ทหารในป้อมยอมแพ้กระทั่งเกิดการต่อสู้และแยกฝ่ายอย่างชัดเจนโดยอเมริกาฝั่งเหนือมีอับราฮัม ลินคอล์น เป็นผู้นำและอเมริกาฝ่ายใต้มีเจฟเฟอร์สัน เดวิส เป็นผู้นำ การรบที่ถือว่าเป็นครั้งสำคัญเกิดเมื่อเดือนกรกฎาคม […]

     
  • Guevara, the world's savior of freedom

    เช กูวาร่า นักกอบกู้เสรีภาพของโลกที่ยังเป็นที่จดจำมาจนถึงทุกวันนี้

    เมื่อนึกถึงนักปฏิวัติที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของโลกชื่อของชายหนุ่มอย่าง เช กูวาร่า จะต้องเป็นชื่อที่หลายคนนึกถึงอย่างไม่ต้องสงสัย เขาคือวีรบุรุษที่ได้รับการขนานนามให้เป็นนักกอบกู้เสรีภาพของโลก อย่างที่รู้กันว่าแม้จุดจบในชีวิตของเขามันอาจไม่ได้สวยงามแต่นั่นแสดงให้เห็นจุดยืนอันชัดเจน หนักแน่น ที่เขาเกิดมาเพื่อต้องการยึดถือในอุดมการณ์ของตนเอง เป็นนักกอบกู้เสรีภาพที่ไม่ยอมก้มหัวให้ใครแม้ชีพมลายหายสิ้น เช กูวาร่า นักกอบกู้เสรีภาพชื่อดังของโลก เช กูวาร่า มีชื่อจริงว่า เออเนสโด ราฟาเอล กูวารา เดอ ลา เซอนา เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 1928 ที่เมืองโรซาริโอ อาร์เจนติน่า พื้นฐานครอบครัวของเชาเป็นชนชั้นฐานะปานกลางค่อนไปทางดีกับความคิดทางการเมืองที่เอียงซ้ายแบบชัดเจนทำให้ตัวของเชค่อนข้างเป็นคนหัวรุนแรงมาตั้งแต่เด็ก พอเติบโตช่วงวัยรุ่นเขามักใช้เวลาว่างในการท่องเที่ยวไปตามเมืองต่างๆ แถบละตินอเมริกา กระทั่งปี 1951 เขาและเพื่อนักศึกษานามว่า อัลเบอร์โต เกรนาโด […]

     
  • History of the abolition of slavery in France

    ความเป็นมาของการเลิกทาสของประเทศฝรั่งเศส

    แนวคิดการเลิกทาสของประเทศฝรั่งเศสนี้มีมาตั้งแต่สมัยยุคกลาง โดยกษัตริย์หลุยส์ที่ 14 ในขณะนั้นได้ออกมาประกาศตั้งแต่ศตวรรษที่14 อนุญาตให้มีทาสในอาณานิคมได้ แต่ถ้าหากทาสคนไหนสามารถเดินทางมาถึงประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นแผ่นดินแม่ได้จะได้รับอิสรภาพทันที ในตอนนั้นประเทศอังกฤษไม่ได้เอ่ยถึงเรื่องทาสเอาไว้เลย รมทั้งไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับทาสด้วย แต่ก็มีกฎหมายปกป้องสิทธิประชาชน ในเรื่องของป้องกันการกักขังหน่วงเหนี่ยวโดยไม่ชอบธรรม เพราะฉะนั้นถ้าเจ้านายมีทาสและกักขังหน่วงเหนี่ยวเอาไว้ก็ผิดกฎหมายในข้อนี้ แต่จะกล่าวว่าคนนี้เป็นทาสของเราไม่ได้ เนื่องจากกฎหมายอังกฤษในขณะนั้นไม่ได้นิยามคำว่าทาส ว่าคืออะไร อย่างไรก็ตาม เรื่องทาสในตอนแรกมันไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไรมากนัก เนื่องจากในภาคบริเวณยุโรปมีประชากรจำนวนเยอะมากพอสมควร และพื้นที่ทำกินซึ่งต้องใช้แรงงานคนก็มีจำนวนไม่เยอะเท่าไหร่ รวมทั้งพืชเศรษฐกิจก็ไม่ค่อยมี แค่ใช้ระบบไพร่ศักดินาก็เพียงพอแล้ว เพราะฉะนั้นเรื่องทาสจึงไม่ได้เกี่ยวกับทางเศรษฐกิจแต่เป็นปัญหาทางจริยธรรมเสียมากกว่า แปลว่าในอังกฤษหรือฝรั่งเศสจะมีทาสก็ได้ คือ ไปซื้อทาสมาแล้วก็นำมารับใช้ส่วนตัว ในงานทั่วไป ถึงจะผิดกฎหมายแต่ไม่ได้ร้ายแรงอะไรมาก อีกทั้งยังไม่มีการใช้แรงงานทาสแบบทารุณกดขี่อย่างที่เราเห็นตามละคร แต่เรื่องนี้มันกลับมีความรุนแรงขึ้น เหมือนเปลวไฟที่โดนน้ำมัน คือเมื่ออังกฤษและฝรั่งเศสเริ่มสร้างอาณานิคมในโลกใหม่ โดยมีจำนวนประชากรน้อย แต่มีพืชเศรษฐกิจซึ่งต้องใช้แรงงานจำนวนมาก เป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดปี อย่างฝ้ายกับอ้อย […]